วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

สถานการณ์เศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน

                  สถานการณ์เศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิด (open economy) คือเป็นประเทศที่ติดต่อทำการซื้อขายสินค้าและบริการกับประเทศเพื่อนบ้าน การค้าระหว่างประเทศจึงมีบทบาทสำคัญในฐานะกลไกในการพัฒนาและนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ประเทศ รวมทั้งมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่ พ.ศ. 2504 ซึ่งเป็นปีที่รัฐบาลประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 มาเป็นแนวทางในประเทศ การค้าระหว่างประเทศของไทยที่ผ่านประเทศไทยส่วนใหญ่จะขาดดุลการค้า และได้ดุลการค้าการชำระเงินเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าเกษตรกรรม ได้แก่ ข้าว ยางพารา ไม้สัก ดีบุก ข้าวโพด ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง กุ้งสด ทุเรียน มังคุดและที่ส่งออกมากขึ้นโดยเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ ซีเมนต์ อัญมณี ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ ผ้าไหมไทย แต่ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็ได้นำเข้าสินค้าเยอะมาก เป็นเหตุให้เราขาดดุลการค้า สามารถจำแนกสินค้านำเข้าได้ดังนี้
  • สินค้าอุปโภคบริโภคประเภทอาหาร ผลิตภัณฑ์นม เครื่องดื่ม เครื่องใช้ในบ้าน มีแนวโน้มลดลงเพราะมีการผลิตทดแทนการนำเข้า และพัฒนาไปสู่การผลิตเพื่อการส่งออก
  • สินค้ากึ่งสำเร็จรูปและวัตถุดิบ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมภายใน มีแนวโน้มสูงขึ้น
  • สินค้าประเภททุน ได้แก่ เครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องทุ่นแรงรถแทรกเตอร์ ปุ๋ยเคมี มีแนวโน้มสูงขึ้น
  • สินค้าอื่นๆ ได้แก่ รถยนต์ เชื้อเพลิง อะไหล่รถยนต์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ในรอบระยะ 10 ปีที่ผ่านมาอัตราการนำเข้าสินค้าของไทยสูงมากขึ้น เนื่องจากการเร่งพัฒนาประเทศมีความจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าทุนมากขึ้น การบริโภคของคนในประเทศเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากพฤติกรรมการบริโภคเลียนแบบ ซึ่งมักจะเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยและมีราคาสูง นอกจากนี้ประเทศไทยส่งเสริมการค้าเสรี ควบคุมการนำเข้าเพียงไม่กี่รายการ จึงมีการนำเข้าสินค้าอย่างมาก จากสาเหตุเหล่านี้ เป็นเหตุให้ประเทศไทยขาดดุลการค้ามาตลอด  
เศรษฐกิจและการค้าของไทยในระยะที่ผ่านมาจะขยายตัวในอัตราที่สูงมาก แต่จากสถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือ ได้มีการนำมาตรการใหม่ๆ มาเป็นข้ออ้างในการกีดกันการค้ามากขึ้น เช่น การใช้มาตรการต่อต้านการทุ่มตลาด และ ตอบโต้การอุดหนุนการห้ามนำเข้าโดยอัตโนมัติ โดยใช้เหตุผลทางสุขอนามัย มาตรฐานสินค้าหรือสิ่งแวดล้อม การแข่งขันในตลาดการค้าโลกที่มีความเข้มข้นยิ่งขึ้น ในส่วนของประเทศไทยนอกจากแสวงหาผลประโยชน์จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการค้าของโลกโดยเข้าร่วมในกลุ่มเศรษฐกิจการค้าที่มีผลประโยชน์สอดคล้องกันและผลักดันให้มีการพัฒนาอาเซียนเป็นเขตการค้าเสรีแล้ว จะต้องพัฒนาสินค้าออกของไทยให้มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้นทั้งในด้านคุณภาพ มาตรฐานสินค้า และประสิทธิภาพในการผลิตเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดสินค้าไทยในตลาดโลก รวมทั้งจะต้องแสวงหาลู่ทางที่จะขยายการลงทุนของไทยไปในภูมิภาคต่างๆ ให้มากขึ้นทั้งในลักษณะของการลงทุนโดยตรงและการร่วมทุน เพื่อเป็นช่องทางให้สินค้าออกของไทยกระจายไปสู่ตลาดต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ภาวะการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองนั้น ย่อมก่อกำเนิดขึ้นได้ตลอดเวลาตามลักษณะแห่งปัจจัยในแต่ละด้าน สำหรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ นับได้ว่ามีความสำคัญ ใหญ่หลวง จะมีผลกระทบเช่นไรต่อการดำรงชีพของประชาชนโดยส่วนรวมในแต่ละช่วงเวลา ตลอดจนจะต้องพิจารณาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศด้วยว่ามีแนวโน้มดำเนินไปอย่างไร ประสานสอดคล้องกับปัจจัยต่างๆ ในขณะนั้นหรือไม่เพียงใด สมควรที่จะได้ปรับปรุงและแก้ไขข้อบกพร่องด้านใดบ้าง ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมส่วนรวมโดยแท้จริง ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในขณะนี้ มีสาเหตุมาจากการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่มุ่งจะรักษาอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตราสูง จึงทำให้มีการพึ่งพาปัจจัยภายนอกประเทศเกินสมควร จากการติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจปัญหาต่างๆเหล่านี้จะคงอยู่ต่อไปและจะทวีความรุนแรงมากขึ้น หากไม่มีการปรับปรุงโครงสร้างการผลิต การนำเข้า และการส่งออกตลอดจนการแก้ไขนโยบายเศรษฐกิจหลายๆ ด้านอย่างมีระเบียบแบบแผน ปัญหาเหล่านี้ก็จะยิ่งสะสมเพิ่มพูนขึ้นจนยากที่จะแก้ไข

วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

วิวัฒนาการประเภทสหกรณ์ของประเทศไทย

         
ครั้งที่ 1   พ.ศ.2459               ออกตามความในพระราชบัญญัติสมาคมเพิ่มเติม พ.ศ. 2459 
 
            มีจำนวน 1 ประเภท   เนื่องจากส่งเสริมการจัดตั้งสหกรณ์หาทุนเพียงประเภทเดียว

          (1)  ประเภทสหกรณ์หาทุน
 
 
ครั้งที่  2    พ.ศ.2494
            ออกตามความในพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471  
 
            มาตรา 6 กำหนดให้เสนาบดีประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นคราวๆ ว่าจะยอมรับจดทะเบียนสหกรณ์ชนิดใดและประเภทใดบ้าง ซึ่งในระยะแรกได้กำหนดให้มีประเภทสหกรณ์จำนวน 8 ประเภท เพราะการจัดตั้งสหกรณ์หาทุนประสบความสำเร็จ จึงได้ขยายการส่งเสริมสหกรณ์ประเภทอื่นๆ

            (1)  สหกรณ์หาทุน (เอกประสงค์)
            (2)  สหกรณ์เช่าซื้อที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (เอกประสงค์)
            (3)  สหกรณ์นิคมกสิกรรม (เอกประสงค์)
            (4)  สหกรณ์ผู้บริโภคหรือร้านสหกรณ์ (เอกประสงค์)
            (5)  สหกรณ์ขายข้าวและพืชผล (เอกประสงค์)
            (6)  สหกรณ์บำรุงที่ดิน (สหกรณ์ชลประทาน) (เอกประสงค์)
            (7)  สหกรณ์หาทุนและบำรุงที่ดิน (เอนกประสงค์)
            (8)  สหกรณ์อุตสาหกรรมในครัวเรือน (เอกประสงค์)
ครั้งที่  3    พ.ศ.2505                ออกตามความแห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471
            มีจำนวน 20 ประเภท จาก 3 กลุ่มสหกรณ์หลัก เนื่องจากประชาชนมีความต้องการจัดตั้งสหกรณ์หลายประเภทมากขึ้น
            (1)  กลุ่มสหกรณ์ธนกิจ (สหกรณ์การเงิน) ประกอบด้วยสหกรณ์ 4 ประเภท  คือ  สหกรณ์หาทุน  สหกรณ์เครดิตเพื่อผลิตกรรม  สหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตสำหรับคนมีเงินเดือน  และธนาคารสหกรณ์จังหวัด (ชุมชนสหกรณ์การเงินระดับจังหวัด)
 
            (2)  กลุ่มสหกรณ์ที่ดิน  (สหกรณ์เพื่อการจัดหาที่ดินเกษตรกรรม  และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ  สำหรับเกษตรกร)  ประกอบด้วยสหกรณ์ 6 ประเภท  คือ  สหกรณ์บำรุงที่ดิน สหกรณ์นิคมกสิกรรม สหกรณ์นิคมเกลือ  สหกรณ์ (นิคม)  การประมง  สหกรณ์การเช่าซื้อที่ดิน  และสหกรณ์ผู้เช่าที่ดิน
 
            (3)  กลุ่มสหกรณ์พาณิชย์  ประกอบด้วยสหกรณ์ 10 ประเภท  คือ  สหกรณ์ขายข้าว  สหกรณ์ขายพืชผลและผลิตผล  สหกรณ์ขายเกลือ  สหกรณ์ผู้บริโภค (สหกรณ์ร้านค้า)  สหกรณ์อุตสาหกรรม  สหกรณ์บริการ-สาธารณูปโภค  สหกรณ์บำรุงและค้าสัตว์  สหกรณ์ประมงและสหกรณ์ประมงกลาง  สหกรณ์รูปอื่น (เบ็ดเตล็ด)  และชุมชนสหกรณ์ขายข้าวและพืชผล
ครั้งที่  4  กฎกระทรวง (พ.ศ.2511)
             ออกตามความในพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2511 
            มีจำนวน 8 ประเภท โดยกฎหมายบัญญัติให้รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นคราวๆ ว่าจะรับจดทะเบียนสหกรณ์ประเภทใดในท้องที่ใด รวมทั้งอาชีพของผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกของสหกรณ์แต่ละประเภท ทำให้จำนวนประเภทลดจาก 20 ประเภทเหลือจำนวน 8 ประเภท
            (1)  สหกรณ์การธนกิจ  (มาจากสหกรณ์หาทุน  สหกรณ์เครดิตเพื่อผลิตกรรม  สหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตชุมชน  สหกรณ์ธนกิจเดิม) 
            (2)  สหกรณ์การซื้อ  (มาจากร้านสหกรณ์  และสหกรณ์ขายส่งแห่งประเทศไทยเดิม)                       
            (3)  สหกรณ์การขาย  (มาจากสหกรณ์ขายข้าว  สหกรณ์ขายพืชผล  สหกรณ์ขายเกลือ  สหกรณ์บำรุงและค้าสัตว์  สหกรณ์ประมงกลาง  สหกรณ์ประมงเดิม)
            (4)  สหกรณ์บริการ  (มาจากสหกรณ์บริการสาธารณูปโภค  สหกรณ์อุตสาหกรรม  สหกรณ์เดินรถ  และสหกรณ์เคหสถานเดิม)                       
            (5)  สหกรณ์การเช่าที่ดิน  (มาจากสหกรณ์เช่าที่ดินเกษตรกรรมเดิม)
            (6)  สหกรณ์การเช่าซื้อที่ดิน  (มาจากสหกรณ์ผู้เช่าซื้อที่ดินเกษตรกรรมเดิม)       
            (7)  สหกรณ์นิคม  (มาจากสหกรณ์กสิกรรม  สหกรณ์นิคมฝ้าย  สหกรณ์นิคมเกลือ  และสหกรณ์นิคมประมงเดิม)
            (8)  สหกรณ์อเนกประสงค์  (มาจากสหกรณ์เครดิตเพื่อผลิตกรรมเดิม)
ครั้งที่  5   กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2516)               ออกตามความแห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2511 
            มีจำนวน 6 ประเภท เนื่องจากข้อจำกัดของความหมายสหกรณ์แต่ละประเภทก่อให้เกิดปัญหาไม่สะดวกในทางปฏิบัติ จึงเปลี่ยนประเภทสหกรณ์ใหม่ให้มีจำนวน 6 ประเภท โดยยึดวัตถุประสงค์หลักของสหกรณ์ รวมทั้งอาชีพหรือกิจกรรมหลักของสมาชิกในการแบ่งประเภท 
            (1)  สหกรณ์การเกษตร: ดำเนินธุรกิจอเนกประสงค์  มีสมาชิกทั้งหมดเป็นเกษตรกร มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
            (2)  สหกรณ์ประมง: ดำเนินธุรกิจอเนกประสงค์ มีสมาชิกทั้งหมดเป็นชาวประมง  มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนชาวประมง       
            (3)  สหกรณ์นิคม: ดำเนินธุรกิจอเนกประสงค์  มีสมาชิกทั้งหมดเป็นเกษตรกรหรือชาวนาเกลือ มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดการเกี่ยวกับการถือครองที่ดินทำกินของสมาชิกสหกรณ์
            (4)  สหกรณ์ร้านค้า: ดำเนินธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง มีสมาชิกได้หลากหลายอาชีพ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค
            (5)  สหกรณ์บริการ: ดำเนินธุรกิจผลิตสินค้าหรืออำนวยบริการให้แก่สมาชิกผู้ใช้บริการโดยตรง 
            (6)  สหกรณ์ออมทรัพย์: ดำเนินธุรกิจเอนกประสงค์  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการออมทรัพย์และให้สินเชื่อแก่สมาชิก  สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนจะรวมอยู่ในประเภทสหกรณ์ออมทรัพย์
ครั้งที่  6   กฎกระทรวง (พ.ศ.2548)                ออกตามความแห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542
            มีจำนวน 7 ประเภท เนื่องจากสหกรณ์ออมทรัพย์เป็นสถาบันการเงินตามประกาศกระทรวงการคลัง จึงทำให้ต้องแยกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนออกมา เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์หลักของสหกรณ์
            (1)  สหกรณ์การเกษตร: ดำเนินธุรกิจอเนกประสงค์  มีสมาชิกทั้งหมดเป็นเกษตรกร มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
            (2)  สหกรณ์ประมง: ดำเนินธุรกิจอเนกประสงค์ มีสมาชิกทั้งหมดเป็นชาวประมง  มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนชาวประมง       
            (3)  สหกรณ์นิคม: ดำเนินธุรกิจอเนกประสงค์  มีสมาชิกทั้งหมดเป็นเกษตรกรหรือชาวนาเกลือ มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดการเกี่ยวกับการถือครองที่ดินทำกินของสมาชิกสหกรณ์
            (4)  สหกรณ์ร้านค้า: ดำเนินธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง มีสมาชิกได้หลากหลายอาชีพ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค
            (5)  สหกรณ์บริการ: ดำเนินธุรกิจผลิตสินค้าหรืออำนวยบริการให้แก่สมาชิกผู้ใช้บริการโดยตรง 
            (6)  สหกรณ์ออมทรัพย์: ดำเนินธุรกิจเอนกประสงค์  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการออมทรัพย์และให้สินเชื่อแก่สมาชิก
            (7)  สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน: ดำเนินธุรกิจเอนกประสงค์  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการออมทรัพย์ของสมาชิกในชุมชน รวมทั้้งช่วยเหลือในการรวบรวมผลิตภัณฑ์หรือจำหน่ายสิ่งของให้แก่บรรดาสมาชิก
 

วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555

เงินฝืด

เงินฝืด        เงินฝืด (Deflation) หมายถึง สถานการณ์ตรงข้ามกับเงินเฟ้อ นั่นคือ ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดลงเรื่อยๆ นี่ไม่ได้หมายความว่า สินค้าทุกชนิดจะต้องลงราคา และในสัดส่วนเดียวกัน อาจเป็นไปได้ว่าสินค้าบางชนิดมีราคาสูงขึ้น แต่เมื่อรวมราคาสินค้าทุกชนิดแล้ว คือราคาถัวเฉลี่ยจะลดลงจากเดิม
ประเภทเงินฝืด แบ่งเป็น
1. เงินฝืดอย่างอ่อน เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ ราคาสินค้าในตลาดทั่วไปจะลดลงเล็กน้อย
2. เงินฝืดอย่างปานกลาง มีผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจแต่ไม่รุนแรง ระดับราคาสินค้าทั่วไปในตลาดจะลดลงมากกว่าเงินฝืดอย่างอ่อน
3. เงินฝืดอย่างรุนแรง
สาเหตุของภาวะเงินฝืด1. ธนาคารกลางพิมพ์ธนบัตรออกมาหมุนเวียนในตลาดน้อยเกินไป แต่อุปสงค์มีมาก
2. ประชาชนนิยมเก็บเงินไว้กับตัวมากเกินไป
3. การส่งเงินตราออกนอกประเทศมากเกินไป
4. นโยบายธนาคารกลางออกกฎหมายเรียกเก็บเงินสำรองตามกฎหมายจากธนาคารพาณิชย์มากเกินไป จนไม่มีเงินที่จะสร้างเงินฝากหรือขยายเครดิต
5. นโยบายของธนาคารพาณิชย์ไม่ขยายเครดิต ให้กู้ยืมสำหรับการลงทุนทั้งระยะสั้น ระยะยาว
6. รัฐบาลควบคุมการซื้อสินค้าเงินผ่อน
7. รัฐบาลเปลี่ยนแปลงเก็บภาษีในอัตราสูงขึ้น ทำให้รายได้ประชาชนลดลง เงินใช้สอยลดลง
8. อัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศค่อนข้างสูง ทำให้ธนาคารพาณิชย์ประสบปัญหาในการกู้ยืมมาขยายเครดิต จำเป็นต้องกู้ยืมจากธนาคารกลาง
9. เงินฝืดมักจะเป็นผลพวงมาจากภาวะฟองสบู่แตก   ทำให้เกิดปัญหาเกิดหนี้เสีย และความเชื่อมั่นต่อการลงทุนลดน้อยลง    ทำให้ภาคการเงินระมัดระวังในการปล่อยสินค้าเชื่อมากขึ้น
ผลกระทบของภาวะเงินฝืด
กลุ่มผู้ได้ประโยชน์
จากภาวะเงินฝืดได้แก่
1. ผู้มีรายได้ประจำ เช่น พนักงานเงินเดือน ข้าราชการเกษียณได้รับบำนาญ
2. ผู้ที่มีรายได้จากดอกเบี้ย หุ้นกู้ ผู้ถือหุ้น ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้
3. ผู้ที่เก็บเงินไว้กับตัวเอง
4. ผู้มีรายได้จากค่าเช่า
 ผู้เช่าก็ต้องจ่ายในราคาเท่าเดิม  เพราะได้ทำสัญญาผูกมัดแล้ว  
                                
กลุ่มผู้เสียประโยชน์จากภาวะเงินฝืด ได้แก่
1. เจ้าของกิจการ นายจ้าง ผู้ผลิตสินค้า นักอุตสาหกรรม เมื่อระดับราคาสินค้าที่ผลิตออกมามีราคาลดต่ำลงเรื่อย ๆ แต่ต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนในการผลิตสูง ผู้ผลิตจะไม่ทำการผลิตอีกต่อไป หรืออาจจะลดการผลิตออกมาให้น้อยลง
2. พ่อค้า นักธุรกิจ เมื่อการผลิตชะลอตัวลง และหยุดชะงักการผลิต พ่อค้า นักธุรกิจ ก็ต้องขาดรายได้ คือ กำไร ตามไปด้วย
3. ลูกหนี้   ขณะที่ทำสัญญาขอกู้ยืมเงินมูลค่าของเงินคงที่ แต่เมื่อเกิดภาวะเงินฝืด มูลค่าของเงินมีค่ามากขึ้น   และการทำมาหากินฝืดเคือง   รายได้ไม่พอกับรายจ่าย เงินหายากขึ้น    แต่ต้องชำระหนี้ในมูลค่าเท่าเดิม
4. ผู้เช่า เมื่อการผลิตชะลอตัวลง และลดต่ำลงเรื่อย ๆ ราคาสินค้าก็ลดลง ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น รายได้ที่รับเข้ามาก็ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย ผู้เช่าก็ต้องจ่ายเงินให้กับผู้ให้เช่าในราคาเท่าเดิม ไม่ได้ลดไปตามราคาสินค้า
5. ผู้รับค่าจ้างรายวัน
6. ผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอน
 ไม่สามารถกำหนดได้ว่าแต่ละวันจะมีรายได้เท่าไร บางวันมีรายได้น้อย บางวันมีรายได้มาก และบางวันไม่มีรายได้เลย เช่น  ผู้ที่รับจ้างทั่ว ๆ ไปไม่มีหลักแหล่ง

การแก้ไขภาวะเงินฝืด
1.ใช้นโยบายทางการเงิน ได้แก่
     1.1 ธนาคารกลางจะต้องพิมพ์ธนบัตรออก มาหมุนเวียนในตลาดให้สอดคล้องกับปริมาณของอุปสงค์และอุปทาน
     1.2 ธนาคารจะต้องลดอัตราเงินสดสำรองตามกฏหมายแก่ธนาคารพาณิชย์ เพื่อที่จะทำให้มีการขยายเครดิตเพิ่มขึ้น
     1.3 ประกาศควบคุมกำหนดราคาสินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าประเภทจำเป็น เช่น ข้าว เนื้อสัตว์ น้ำมัน การขนส่ง ฯลฯ
2.ใช้นโยบายทางการคลัง ได้แก่
     2.1 รัฐบาลจะต้องกระจายรายได้ไปสู่ชนบท   ทำให้ประชาชนมีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นการลงทุนให้ชนบท   เช่น   จัดให้มีโครงการสร้างงานในชนบท ( กสช. ) โดยเริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523   ใช้งบประมาณปีละ 3,500 ล้านบาท   ส่งผลให้ประชาชนในชนบทมีงานทำมากเพิ่มขึ้นมีแหล่งน้ำ   มีถนน  ทำให้เพิ่มผลผลิตตามไปด้วย
     2.2 งบประมาณรายจ่ายรายจ่ายของรัฐบาลจะต้องจ่ายให้มีสภาพคล่องตัวยิ่งขึ้น จะทำให้เงินหมุนเวียนในตลาดรวดเร็วขึ้น    เช่น   รัฐบาลจ้างทำของ   ( ถนน เขื่อนกั้นน้ำ ชลประทาน ฯลฯ ) สั่งซื้อสินค้า เมื่อธุรกิจได้รับเงินของทางรัฐบาล จะทำให้เกิดการสร้างงานต่อไป
     2.3 ขอกู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศและต่างประเทศ   ดอกเบี้ยถูกจ่ายคืนในระยะยาว มาลงทุนในโครงการที่ช่วยพัฒนาประเทศและสามารถให้ผลประโยชน์ตอบแทนได้
     2.4  ประชาสัมพันธ์ให้นักลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศมาลงทุน   โดยมีระยะปลอดภาษี   และให้ความสะดวกทุกประการ
     2.5 ลดอัตราภาษีของรายได้บุคคลของประชาชน     ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น     เมื่อประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น   การใช้จ่ายก็มีมากขึ้นตามลำดับ
     2.6 ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ นำขึ้นมาใช้ เช่น แก๊สธรรมชาติ เท่ากับเป็นการสร้างงาน ทำให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัวทำให้ภาวะเงินฝืดเบาบางลง
     2.7 ส่งเสริมผลผลิตทางด้านการเกษตร    อุตสาหกรรมออกสู่ต่างประเทศ    โดยใช้การตลาดเป็นแกนนำ   ทำให้เงินตราไหลเข้าสู่ประเทศมากขึ้น
 รวมธนบัตรไทย

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ

            กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Monetary Fund) หรือ ไอเอ็มเอฟ (IMF) เป็นองค์กรที่รัฐบาลของกลุ่มประเทศพันธมิตรได้ร่วมก่อตั้งขึ้น มีฐานะเป็นทบวงการชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ โดยมีข้อบังคับว่าประเทศที่จะเป็นสมาชิกธนาคารโลก และจะต้องเป็นสมาชิกของ IMF ด้วย เริ่มเปิดดำเนินการในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 1947 ประเทศที่สมัครเป็นสมาชิกกองทุนการเงินฯ จะต้องเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติอยู่ก่อนแล้ว ในปัจจุบันมีสมาชิก 185 ประเทศ (montenegro เป็นสมาชิกอันดับที่ 185 เข้าร่วมเมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 2007)

วัตถุประสงค์และหน้าที่

            วัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง IMF คือ จัดการและควบคุมระบบการเงินของโลกและช่วยเหลือประเทศที่เผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจ โดยจะประสานการทำงานกับกระทรวงการคลัง และแบงก์ชาติของแต่ละประเทศ หน้าที่หลักของ IMF มีอยู่ 3 ประการคือ

1.จัดระบบการเงินโลก
2.กำกับกติกาทางเศรษฐกิจของโลก เพื่อให้เกิดความมั่นคงมีเสถียรภาพ
3.สร้างเงินซึ่งเป็นเงินสำรองระหว่างประเทศ เป็นเงินที่เป็นกลาง ไม่ได้เป็นเงินของประเทศใดประเทศ    หนึ่ง


วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ธนาคารแห่งประเทศไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชื่อไม่เป็นทางการ แบงค์ชาติ (อังกฤษThe Bank of Thailand: BOT) เป็นธนาคารกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 มีหน้าที่หลักในการดูแลกำกับเรื่องการเงินของชาติ ทั้งออกกฎเกณฑ์และควบคุมสถาบันการเงิน นำออกหมุนเวียนซึ่งธนบัตรไทยรวมถึงการควบคุมการถ่ายโอนเงินตราระหว่างประเทศ และเฝ้าระวังอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับสกุลเงินตราอื่น
ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นหลังจากประเทศไทยได้มีธนาคารพาณิชย์ทั้งของรัฐและเอกชนเริ่มดำเนินการไปก่อนหน้านั้นแล้ว ภาระกิจและหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยเดิมซ้อนเหลื่อมอยู่กับกระทรวงการคลังและได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับหลังจากที่ระบบการเงินของโลกพัฒนาไปและมีวิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญต่างๆ
           Seal of the Bank of Thailand.svg

ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม


  ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ถือเป็นระบบเศรษฐกิจที่หน่วยเศรษฐกิจต่าง ๆ สามารถตัดสินใจเลือกซื้อหรือผลิตสินค้าและบริการตามความต้องการของตนได้เสรีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นของเอกชน ส่วนรัฐบาลจะเข้ามาเกี่ยวข้องในกิจกรรมทางเศรษฐกิจน้อยที่สุด โดยทำหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเท่านั้น
ผู้บริโภค จะตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริกการ โดยคำนึงถึงรายได้ของตน ราคาของสินค้าและบริการ ถ้าผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น ก็อาจต้องการซื้อสินค้าต่าง ๆ มากขึ้น แต่ถ้าสินค้ามีราคาแพง ผู้บริโภคอาจลดความต้องการซื้อลงไป
ผู้ผลิต ถ้าค่าใช้จ่ายในการผลิต เช่น ค่าวัตถุดิบลดต่ำลง แรงจูงใจในการผลิตก็เพิ่มมากขึ้น เพราะจะได้กำไรมากขึ้น หรือสินค้าที่ตนผลิตมีราคาดีในท้องตลาดผู้ผลิตก็จะมีแรงจูงใจที่จะผลิตสินค้านั้นมาก
 

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แค่ผู้หญิงธรรมดา

ก็แค่ผู้หญิงธรรมดา
มีงี่เง่าเสียน้ำตา มีอ่อนไหว
เป็นเพียงคนติดดินไม่เลิศหรูอะไร
สิ่งสำคัญที่คงไว้ มีเพียงใจที่อ่อนแอ

ก็เป็นได้แค่นี้ แบบนี้
พอจะรักได้รึเปล่าคนดีกับหัวใจที่มีแผล
ทุกวันพยายามฝืนทนอยู่กับความอ่อนแอ
ถึงพ่ายแพ้สุดท้อแท้ทรมาน

และผู้หญิงธรรมดาอย่างฉัน
สิ่งที่ฝันจนถึงกาลอวสาน
ขอเพียงมีใครมอบหัวใจให้ดั่งต้องการ
แม้ต้องแลกด้วยความทรมานและหยาดน้ำตา